งานวิจัยเรื่อง “การนําทรัพย์สินมีรูปร่างและทรัพย์สินไม่มีรูปร่างมาเป็นหลักประกัน ทางธุรกิจ ศึกษากรณี : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” เป็นการศึกษาการนําทรัพย์ไม่มีรูปร่างและ ทรัพย์มีรูปร่าง คือ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจตาม พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเปรียบเทียบกับหลักประกันแบบลอย ของประเทศอังกฤษและการประกันหนี้ด้วยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายเอกรูปว่าด้วยการ พาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มิได้กําหนดประเภททรัพย์สินแตกต่างจากประเทศไทยที่กําหนดประเภททรัพย์สินไว้ ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่นํามาเป็นหลักประกันที่เป็นสิทธิชุมชนอันมิใช่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลหนึ่งและสิทธิในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขจึงต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขในกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจว่าต้องเป็นของวิสาหกิจ ชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๘ หรือบริษัทนั้นที่มีสิทธิใช้เท่านั้นหรือ มีคณะกรรมการสิทธิชุมชนตามร่างพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน พ.ศ. .... เพื่อทําการกําหนดพื้นที่ในการใช้ให้สอดคล้องกับชุมชนที่นํามาเป็นหลักประกันและไม้ยืนต้นที่นํามาเป็นหลักประกันควรมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติและโรคภัยที่เกิดจากธรรมชาติในกฎกระทรวงเพื่อลดความเสียหาย จึงต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายกําหนดเงื่อนไขในการนําสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อีกทั้งปัญหาเรื่องประเภทของผู้รับหลักประกันที่ถูกกําหนดไว้เพียงธุรกิจบางประเภทการกําหนดรายละเอียดในเรื่องการประเมินมูลค่า และการบังคับหลักประกันที่ให้อํานาจผู้รับหลักประกันและผู้บังคับหลักประกันโดยไม่มีการกําหนดวิธีการบังคับหลักประกัน จึงควรมี การแก้ไขให้มีธุรกิจที่มีประสิทธิภาพเข้ามาเป็นผู้รับหลักประกัน กําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ คุณสมบัติผู้ประเมินมูลค่าและวิธีการประเมินมูลค่า และกําหนดการบังคับหลักประกันที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย