เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กับกฎหมายเกี่ยวกับหลักประกัน : มุมมองผู้พิพากษาไทย

Relationship between Reorganization Proceeding and Secured Transactions Regimes : Thailand Judicial Perspectives

อ่าน 778 ครั้ง

ดร.กนก จุลมนต์

Dr. Kanok Jullamon

Judge attached to Bankruptcy Division of the Supreme Court

วันที่ได้รับบทความ -

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ -

บทความนี้นอกจากในส่วนบทนำ จะได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นอีก ๕ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๒ การอภิปรายเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีประกัน ส่วนที่ ๓ ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหนี้มีประกันในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ส่วนที่ ๔ ความท้าทายในปัจจุบันเกี่ยวกับระบบทรัพย์หลักประกันในคดีฟื้นฟูกิจการ ส่วนที่ ๕ ข้อเสนอแนะของผู้เขียนแก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีฟื้นฟูกิจการ และส่วนที่ ๖ บทสรุป สำหรับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กับเจ้าหนี้มีประกัน ประการแรก กฎหมายฟื้นฟูกิจการของประเทศไทยไม่ได้ปลดเปลื้องสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการได้รับชำระหนี้ประการที่สอง เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์หลักประกันหากเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอเกี่ยวกับมูลค่าของทรัพย์หลักประกัน ประการที่สาม เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีฟื้นฟูกิจการ ประการที่สี่ เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และความเห็นชอบจากศาล เจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้จะได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผน ประการที่ห้า การปฏิบัติต่อเจ้าหนี้มีประกันทั้งห้าประการข้างต้น เป็นการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้มีประกันอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของเจ้าหนี้มีประกันรายนั้นๆ ในส่วนประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเจ้าหนี้มีประกันในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กว่า ๑๙ ปี ที่ผ่านมา ศาลฎีกาตัดสินคดีฟื้นฟูกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้มีประกันใน ๓ เรื่องหลัก ได้แก่ การแยกหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันออกเป็น ๒ ส่วน การได้รับชำระหนี้ที่แตกต่างกันของเจ้าหนี้แต่ละกลุ่ม และวิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินสำหรับการเห็นชอบด้วยแผนสำหรับความท้าทายในปัจจุบันเกี่ยวกับระบบทรัพย์หลักประกันในคดีฟื้นฟูกิจการมีอยู่สองส่วน หนึ่ง พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทำให้ประเภทของเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มีมากขึ้น สอง ผลกระทบต่อเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๙ หมวด ๓/๒ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในส่วนข้อเสนอแนะของผู้เขียนแก่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการก่อนที่จะให้สินเชื่อลูกหนี้ และกระบวนการฟื้นฟูกิจการไม่ได้ช่วยลูกหนี้ในการจำหน่ายหนี้ที่มีอยู่ออกไปทั้งหมด

This paper discusses the relevant sections of the reorganization law that copes with secured debts, the contested issues and the Supreme Court rulings, current challenges with the secured regimes in reorganization proceedings, and the author’s thoughts concerning the parties of the rehabilitation process. Regarding the treatment of secured creditors in Thai reorganization law, the law does not strip the secured creditor’s of its right to priority repayment. Secondly, the secured creditors may seize their collateral if they do not get adequate protection as regards the worth of their security. Thirdly, the secured creditor may opt for filing a proof of claims with a bankruptcy trustee within the stipulated timeline like any creditor of the debtor. Fourthly, once the reorganization plan is approved by the creditors’ meeting and confirmed by the court, any creditor will be repaid according to the terms and conditions of the plan. Lastly, in the above mentioned treatment of secured creditors, such handling under Thai law is the same regardless of the secured creditor’s nationality. Concerning contested issues concerning secured creditors in the reorganization case, over the past 19 years, the Supreme Court has laid down guidance for three main topics : the bifurcation issue, the different recovery rate of each class of creditors, and the asset valuation method for plan confirmation. Currently, there are two challenges to the reorganization law regarding secured transactions. Firstly, with the entry into force date of the Business Collateral Act B.E. 2558 (2015 A.D.), there will be more types of secured creditors in the rehabilitation process. Secondly, the new rehabilitation chapter for Small and Medium Enterprise went into effect on 25 May 2016. The sharp distinction between Chapter 3/1 for company debtors and Chapter 3/2 for SMEs debtors is the steps taking place before the filing of the reorganization petition, which may indirectly affect the interests of secured creditors. The author’s thoughts regarding the interested parties in the reorganization process are as follows. Creditors should study their rights and obligations in the reorganization procedure before making any loans. Also, the rehabilitation procedure does not help the debtor write off all their debts.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 2.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656