เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

ปัญหาเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดีปกครองที่เป็นการใช้อำนาจรัฐ ตามกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน

อ่าน 296 ครั้ง

ดร.ภูมิ มูลศิลป์

หัวหน้าสาขานิติศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

วันที่ได้รับบทความ -

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ -

การประกาศกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นสามารถกระทำได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อหลักนิติธรรม หลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่มีการใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยจะต้องคำนึงถึงระดับความรุนแรง ของภัยหรือสถานการณ์เปรียบเทียบกับความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ และสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนผู้สุจริต แต่การใช้อำนาจนี้หาได้ไม่มีขอบเขตหรือปราศจากการควบคุมไม่ ดังนั้น ในการใช้อำนาจภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินก็จำต้องมีองค์กร และกลไกในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ อย่างไรก็ตามการที่พระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๑๖ ได้ตัดอำนาจของศาลปกครอง ออกจากกระบวนการพิจารณาคดีอันเกี่ยวเนื่องกับข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำต่างๆ ตามพระราชกำหนดดังกล่าวนั้น อันเป็นเหตุทำให้คดีดังกล่าวตกอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมในฐานะที่เป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไป เช่นนี้แล้วอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากคดีปกครองนั้นมีนิติปรัชญา กระบวนวิธีพิจารณาคดี และการบังคับคดีที่แตกต่าง ไปจากคดีประเภทอื่นๆ ดังนั้น จึงไม่ควรตัดอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินของศาลปกครอง

Passing a law for an emergency situation is not contrary to the rule of law, the principle of human rights, and the administration under the democracy system only to the necessity. However, a promulgation of such law must concern about the degree of peril or the circumstance and compare them to the state’s security, public calamity, and rights and freedoms of the innocent individuals. Anyway, there are some statutory provisions in the Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situation B.E. 2548 especially section 16 of the decree that reserved the Administrative court’s jurisdiction to consider disputes relating to the clause, proclamation, orders, or actions according to the decree. Since the administrative court has different legal philosophy, procedure, and execution from the other organizations, therefore, the administrative court should be the organization that exercise a power to try and adjudicate the administrative tort cases in the emergency situation.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656