เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน

Problems of Extradition between Thailand and ASEAN Member States

อ่าน 619 ครั้ง

อภินันท์ ศรีศิริ

นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่ได้รับบทความ -

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ -

การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถือเป็นความร่วมมือทางกฎหมายที่มีความสำคัญมากตั้งแต่ในอดีต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามอาชญากรรม แม้โดยหลักการการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่ใช่พันธกรณีที่จะบังคับให้ประเทศผู้รับคำร้องขอต้องปฏิบัติตามคำร้องขอก็ตาม แต่ทุกประเทศบนโลกก็ควรต้องมีหน้าที่ที่ต้องร่วมมือกันในการปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกันในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุม ๑๐ ประเทศสมาชิก และไม่ครอบคลุมอาชญากรรมทุกรูปแบบ อีกทั้งมีปัญหาอุปสรรคสำหรับเงื่อนไขในการให้ความร่วมมือที่ยังมีความแตกต่างกันอาทิ การส่งคนชาติ คนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในรัฐ การกำหนดโทษประหารชีวิต ความผิดทางการเมือง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลผู้ถูกร้องขอ หรือมีแนวทางที่ยังล้าสมัย เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางกฎหมายในการปราบปรามอาชญากรรมภายในภูมิภาคอาเซียน เห็นว่า ประชาคมอาเซียนจึงควรพัฒนารูปแบบ แนวคิด หลักการและกลไกในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบประชาคมการเมืองและความมั่นคง ในลักษณะเดียวกันกับการรวมกลุ่มภูมิภาคยุโรปและการรวมกลุ่มภูมิภาคแอฟริกาการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนถือเป็นความร่วมมือทางกฎหมายที่มีความสำคัญมากตั้งแต่ในอดีต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามอาชญากรรม แม้โดยหลักการการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไม่ใช่พันธกรณีที่จะบังคับให้ประเทศผู้รับคำร้องขอต้องปฏิบัติตามคำร้องขอก็ตาม แต่ทุกประเทศบนโลกก็ควรต้องมีหน้าที่ที่ต้องร่วมมือกันในการปราบปรามอาชญากรรม รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจากการศึกษาพบว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศกันในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุม ๑๐ ประเทศสมาชิก และไม่ครอบคลุมอาชญากรรมทุกรูปแบบ อีกทั้งมีปัญหาอุปสรรคสำหรับเงื่อนไขในการให้ความร่วมมือที่ยังมีความแตกต่างกันอาทิ การส่งคนชาติ คนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในรัฐ การกำหนดโทษประหารชีวิต ความผิดทางการเมือง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลผู้ถูกร้องขอ หรือมีแนวทางที่ยังล้าสมัย เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางกฎหมายในการปราบปรามอาชญากรรมภายในภูมิภาคอาเซียน เห็นว่า ประชาคมอาเซียนจึงควรพัฒนารูปแบบ แนวคิด หลักการและกลไกในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบประชาคมการเมืองและความมั่นคง ในลักษณะเดียวกันกับการรวมกลุ่มภูมิภาคยุโรปและการรวมกลุ่มภูมิภาคแอฟริกา

-

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656