เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

แผนยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติสังคมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

Buddha’s Strategic Plan for Social Revolution According to Tripitaka

อ่าน 277 ครั้ง

ภีม ธงสันติ

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพระโขนง

วันที่ได้รับบทความ -

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ -

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑.) เพื่อศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ตามที่พระองค์ทรงนำไปใช้เพื่อการปฏิวัติสังคม ๒.) เพื่อศึกษาแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติสังคมของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และ ๓.)เพื่อสรุปแนวทางและวิธีการประยุกต์ใช้พุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมในยุคปัจจุบันการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเฉพาะกรณีด้วยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิในด้านความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับคำสอนในพุทธศาสนาผลการศึกษาพบภาพรวมของคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์โลกทัศน์ภายใต้คำสอนดังกล่าวจนปรากฏสังคมอุดมคติ พบว่าพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยนำสังคมปรับไปสูสังคมอุดมคติโดยทรงกําหนดวิสัยทัศน์สําหรับช่วงเวลาในการเผยแผ่ศาสนาที่ความมั่นคงของ พุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความเข้าใจและปฏิบัติตามคำสอนได้อย่างถูกต้องและสามารถในการที่จะปกป้องศาสนาได้ต่อไป โดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวทรงนำมากําหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติสังคม ทรงเลือกยุทธวิธีสร้างสังฆะไว้เคียงคู่กับสังคมหลัก เพื่อการแก้ปัญหาโครงสร้างด้านสังคมเป็นหลัก มิได้ทรงแตะต้องด้านเศรษฐกิจและการเมืองโดยตรง ทรงใช้ยุทธวิธีเข้าหาผู้นําผู้มีอิทธิพลในสังคมต่างๆ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และลัทธิต่างๆประกอบกับยุทธวิธีในการสั่งสอนอื่นๆ จนประสบผลสําเร็จ การปฏิวัติสังคมของพระพุทธเจ้ามีลักษณะบางประการเหมือนกับลักษณะทั่วไปของการปฏิวัติสังคมอื่นๆเช่น มีการยึดกุมอํานาจบริหารไว้ที่ศูนย์กลาง มีการแย่งชิงในกลุ่มพวกเดียวกันพระพุทธเจ้าทรงแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยพระองค์เองผ่านด้านบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ และทรงมีภาวะผู้นํา แต่จากการวิเคราะห์ขั้นตอนการบริหารแผนยุทธศาสตร์ พบว่าทรงบริหารแผนและกุมวิสัยทัศน์ไว้ด้วยพระองค์เพียงลําพังผู้เดียว มิได้เปิดเผยแก่ผู้ใดจนตลอดพระชนม์ชีพ ทั้งนี้ด้วยเหตุด้านการรักษาความลับและความมั่นคงของศาสนา การที่ไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นศาสดาแทนแต่ทรงให้พระธรรมวินัยที่ทรงแสดงไว้เป็นศาสดาของพุทธศาสนาเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดี คือ คําสอนของพระองค์จะไม่มีศาสดาในอนาคตมาดัดแปลงได้ ผลเสีย คือ เมื่อรวมกับกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับรู้แผนยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของพระองค์ ทําให้การบริหารแผนยุทธศาสตร์ ต่อไปขาดความต่อเนื่องคําสอนสําคัญบางประการ โดยเฉพาะมิติทางด้านสังคมขาดหายไป เกิดการแตกเป็นนิกายต่างๆ มากมายภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ทั้งคําสอนที่ปรากฏในสังคมไทยยุคปัจจุบันก็ไม่มีมิติครบถ้วนดังที่ได้ศึกษาภาพรวมไว้ในเบื้องต้นอันเป็นสาเหตุทําให้คําสอนของพระพุทธเจ้าไม่สามารถมีบทบาทนําในการปัญหาสังคมในยุคปัจจุบันได้ เมื่อพบคําตอบจากการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์แนวทางในการประยุกต์ผลที่ได้รับจากการวิจัยเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน โดยเสนอแนวทางการปรับแก้ที่โครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าทรงดําเนินการโดยมีภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นกําลังสําคัญที่มีอยู่แล้วเป็นผู้นํา นําจุดอ่อนในการบริหารแผนของพระพุทธเจ้ามาปรับแก้ โดยให้มีการระดมสมอง การสร้างวิสัยทัศน์ รวมการใช้กลไกและเครื่องมือที่มีในปัจจุบันมาช่วยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้าใจคําสอนและแผนยุทธศาสตร์ของพระพุทธเจ้า การมีสังคมอุดมคติเป็นเป้าหมายสูงสุดการปฏิวัติสังคมของพระพุทธเจ้าจึงยังไม่เสร็จ (Unfinished Revolution) การนําองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาดําเนินการจึงเป็นการสานต่อแผนของพระพุทธเจ้าและช่วยแก้ปัญหาต่างๆผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยต่อไป คือ การวิจัยในเชิงประยุกต์พุทธธรรมสําหรับการแก้ไขปัญหาสังคมเฉพาะด้าน เช่น ด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านปัญหาคอร์รัปชั่น การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาธรรมาภิบาลเฉพาะด้านเช่น ดานงานการเมืองการปกครอง ด้านงานกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็นต้นและการวิจัยเพื่อประยุกต์กลไกทางสังคมยุคใหม่ เช่น New Social Movement (NSM)มาช่วยส่งเสริมในการนําพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาสังคม เป็นต้น

This research is aimed at 1.) studying the core teaching of the Buddha in Tripitaka 2.) studying the Buddha’s strategic plan for social revolution in Tripitaka and 3.) conclusion all directions and processes how to apply the core teaching for solving the current social problem in the Thai society. The mixed qualitative research methodology, documentary research and specific research, has been conducted by collecting the information through the documentary research and the in-depth interview of the key informants with distinctive knowledge and experience in Buddhism. The results found in this research are as followed. The core teaching of the Buddha in Tripitaka was found. The analysis of the said finding shows the vision and concept of the ideal society. The Buddha intended to change the society to the ideal society. He initiated the vision for his period of the propagation of Buddhism. The Buddha’s vision was the completion of the four Buddhist assemblies: bhikkhu, bhikkhuni, upasaka (layman), upasika (laywoman), being able to comprehend and practice the Buddha’s teaching correctly and having the competency in protecting the Buddhism. He formulated the strategic plan for social revolution according to his decided vision. He highly focused on solving the social problem of the society: the economical and political issues were not his main objective. The Buddha could expanded his religious successfully by approaching to the influential leaders of the various communities in that period of time including political, economical, social, religious and belief aspects. Besides, he also used the teaching tactics to make people understood the core teaching clearly. The characteristic of the Buddha’s process of social revolution is similar to the other social revolutions in some aspects such as the power centralization, usurpation of authority. The Buddha had solved all occurred problems himself through his executive, legislative and judicial power. He was a strategic leader, but anyway from the analysis of his strategic plan implementation, it is found that he managed plan and monitored the vision solely by him. This plan and vision were not revealed to anybody through his life time for the reason of security concerns. The Buddha did not promote anyone to succeed his position. He requested all disciples to respect his doctrine and discipline (dharmvinaya) as same as him, the founder of the religious after he passed away (parinippana). This brought both good and bad results. The good result was that his core teaching would not be altered by any prophet. The bad was the lack of continuity in the strategic plan implementation because no one knew the Buddha’s plan and vision. Some important dimension of the core teaching would be ignored especially for social aspects. It also caused the separation between the groups of disciples after his passing away. The Buddha’s teaching existing in current Thai society is not similar to the overview of the teaching found in this research since there are some vanishing dimensions. It can be concluded that the Buddha’s core teaching cannot play the leading role in solving social problem in current Thai situation because of those reasons. The result of the research could be applied for enhancing the method for solving the social problem of the current Thai society. Concentration on the reconstruction of the social structure like the Buddha did is proposed. Bhikkhu sangha can be the main task force and play significant role. The Buddha’s weakness in plan management should be considered. Brain storming and creating the shared vision are also necessary. All mechanics and tools have to be used in promoting the comprehension of the core teaching and strategic plan of the Buddha’s. Since the ideal society is the ultimate goal, the Buddha’s social revolution is still unfinished. The application of this research result will be the succession of the Buddha’s plan and the alternative way for solving social problems. The recommendations for the relating research are as follows. 1.) The research in applying the core teaching for solving specific social problem such as environmental problem, corruption. 2.) The research for initiation the knowledge in specific good governance development such as politics affairs, law and justice administration, and, 3.) The research in applying the mechanics of the modern society such as the new social movement (NSM) in order to enhance the use of the core teaching for social development

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656