เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

ทางเลือกในการลงโทษจำเลยในคดีอาญา มาตรการลงโทษระดับกลาง

Alternative Sentencing Intermediate Punishment

อ่าน 893 ครั้ง

ดล บุนนาค

ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลจังหวัดสมุทรสาคร

วันที่ได้รับบทความ -

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ -

การวิจัยเรื่อง “ทางเลือกในการลงโทษจําเลยในคดีอาญา : มาตรการลงโทษระดับกลาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของมาตรการลงโทษระดับกลางที่เป็นหลักการสากล (กฎแห่งกรุงโตเกียว) รวมทั้งรูปแบบและหลักเกณฑ์ของมาตรการลงโทษระดับกลางที่ใช้ในต่างประเทศสําหรับใช้เป็นแนวทางในการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับโทษระดับกลางที่เหมาะสมกับไทย ใช้วิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการสํารวจกลุ่มตัวอย่างผู้พิพากษาที่ทําหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจํานวน ๓๘๖ คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเนื้อหา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณนั้นใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)ผลการวิจัย พบว่า มาตรการลงโทษระดับกลางที่เหมาะสม คือ รูปแบบการลงโทษระดับกลาง รวม ๑๐ วิธี เช่น การตักเตือนด้วยวาจา การคุมประพฤติแบบเข้มงวดการคุมขังในที่อยู่อาศัยโดยใช้เครื่อง Electronic Monitoring เป็นต้น โดยตราเป็นพระราชบัญญัติกําหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ ให้ศาลนํามาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้แทนโทษจําคุกได้ในคดีที่จะลงโทษจําคุกไม่เกิน ๕ ปีและในกรณีที่จําเลยฝ่าฝืนคําสั่ง ศาลอาจนําโทษจําคุกที่กําหนดไว้มาลงแก่จําเลยได้ การวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า รัฐควรเตรียมความพร้อมด้านบริหารจัดการองค์กรงบประมาณ บุคลากร และดําเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดเรื่องการเลี่ยงโทษจําคุกโดยใช้มาตรการลงโทษระดับกลางและสนับสนุนให้มีการตราพระราชบัญญัติมาตรการลงโทษระดับกลางที่ไม่จํากัดการใช้ดุลพินิจของศาลมากเกินไป นอกจากนี้ ศาลควรจัดทําบัญชีกําหนดอัตราโทษ (ยิ๊ดต๊อก) ให้รองรับการนํามาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้เพื่อกําหนดกรอบการใช้ดุลพินิจของศาลทั่วประเทศให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

The research on “Alternative Sentencing : Intermediate Punishment” was conducted with objectives to 1) study patterns and principles of intermediate punishments in sentencing the defendant in criminal cases as provided by laws of foreign countries and patterns of intermediate punishment measures as specified by the international model (The Tokyo Rules) 2) identify patterns and principles of intermediate punishment measures for being used a model for drafting a law of intermediate punishment that is suitable for Thailand. The methodology combined both quantitative and qualitative researches. The qualitative data were collected from concerning documents while the quantitative data were collected from the sample group of 386 judges, who were carrying out duties to deliberate criminal case sentences in first instance and appeals courts within Bangkok and vicinity. Qualitative analysis was performed by using a material comparative analysis method while Quantitative analysis was performed by determining the Mean and the Standard Deviation of the data population The result shows that intermediate punishments, which are appropriate for Thailand, can be attained by legislating an act prescribing intermediate punishment measures into 10 forms, for example: Verbal Warning; Intensive Probation; and Electronic Monitoring while the substantial principles are that the Court should impose such punishment on a defendant, whose conviction is not exceeding a period of 5 years imprisonment and in a case that the defendant violates the intermediate sanction, the Court may impose the predetermined imprisonment on such defendant. The research suggests that the State should develop availability of organization administration, budget and personnel and provide pertinent officials with knowledge and understanding about a concept of alternative sentencing via imposing intermediate punishments prior to the law is in effect and encourage legislation for intermediate punishments with provisions that do not so limit the judicial discretion. Moreover, the Court should provide a recommendation for the judges along with sentencing guidelines to help implementation on the intermediate sanctions so that the Court’s discretion across the country is shaped in the same direction.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 2.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656