เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

กระบวนการกำหนดโทษอาญาในศาลไทย

The Sentencing Process in Thai Courts

อ่าน 1337 ครั้ง

รัฐพล โลนา

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลแพ่งตลิ่งชัน

Ratapon Lona

Vice Presiding Judge of the Taling Chan Civil Court

วันที่ได้รับบทความ 25 กุมภาพันธ์ 2567

วันที่แก้ไขบทความ 11 มีนาคม 2567

วันที่ตอบรับ 27 มีนาคม 2567

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกําหนดโทษอาญาของศาลไทย ทั้งในทางกฎหมายและวิธีปฏิบัติว่ามีลักษณะและสภาพปัญหาอย่างไร ศึกษากลไกการ ค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับกําหนดโทษที่มีอยู่เพื่อทราบถึงประสิทธิภาพและข้อจํากัด และ ศึกษาเพื่อหาแนวทางพัฒนากระบวนการกําหนดโทษอาญา ผลการศึกษาพบว่า การที่ประมวลกฎหมายอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษและหลักเกณฑ์ในการกําหนดโทษที่ชัดเจน ทําให้การกําหนดโทษตามคําพิพากษาขาดความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษตามกฎหมาย การกําหนดโทษของศาล มีโครงสร้างการใช้ดุลพินิจไม่ชัดเจนว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการคิดอย่างไร การปรับใช้ หรือให้น้ําหนักแก่ปัจจัยที่มีผลต่อการกําหนดโทษขาดความสม่ําเสมอ กระบวนการ กําหนดโทษในปัจจุบันขาดการมีส่วนร่วมของคู่ความและผู้เสียหาย ขณะเดียวกัน การพิจารณาคดีอาญาขาดกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับกําหนดโทษอย่างเป็นระบบ กลไกการค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับกําหนดโทษที่มีอยู่มีลักษณะรวมศูนย์สั่งการไว้ที่ศาล แต่ศาลมักจํากัดบทบาทการค้นหาข้อเท็จจริง ทําให้กลไกดังกล่าวไม่ถูกนํามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การไม่เปิดเผยเนื้อหาของบัญชีมาตรฐานโทษทําให้คู่ความไม่สามารถโต้แย้งหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจัยในการกําาหนดโทษได้ นอกจากนี้ แนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการพิจารณาคดีที่รวบรัด โดยเฉพาะการพิจารณาคดีในระบบเวรสร้าง ข้อจํากัดในการค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับกําหนดโทษ จากปัญหาของกระบวนการกําหนดโทษข้างต้น ผู้วิจัยเสนอแนวทางพัฒนากระบวนการกําหนดโทษอาญา โดยการสร้างแนวทางกําหนดโทษด้วยกลไกภายในของ ศาลยุติธรรม คือ การมีคณะกรรมการพัฒนาการกําหนดโทษ เพื่อสร้างแนวทางกําหนด โทษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการลงโทษ หลักเกณฑ์ในการกําหนดโทษ ปัจจัย ที่ใช้พิจารณากําหนดโทษ รวมทั้งระดับอัตราโทษ โดยศาลสามารถปรับเนื้อหาให้ สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นได้ การจัดทําแนวทางกําหนดโทษ ควรสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเปิดเผยเนื้อหาของแนวทางกําหนดโทษ ด้านการค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับ กําหนดโทษ ควรนํารูปแบบการรวบรวมข้อเท็จจริงของ ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบชีวิลลอว์มาใช้ คือให้พนักงานสอบสวนรวบรวม ข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจัยในการกําหนดโทษตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ส่วนในชั้นพิจารณา ศาล ต้องมีบทบาทค้นหาข้อเท็จจริงสําหรับกําหนดโทษให้ครบถ้วนก่อนมีคําพิพากษา โดยยกเลิกกระบวนพิจารณาที่รวบรัด กับเปิดโอกาสให้คู่ความเสนอและพิสูจน์ข้อเท็จจริง ที่เป็นปัจจัยใน การกําหนดโทษ

This research has the objective of studying problematic characteristics and conditions in the sentencing process in Thai courts, both in legislation and in practice. In addition, it intends to examine existing fact-fif inding mechanisms for sentencing in order to understand their effectiveness and limitations, as well as to explore structures to advance the sentencing process. The fif indings of this research are that the Criminal Code lacks provisions regarding the purposes of punishment and explicit criteria for sentencing, resulting in the absence of a connection between rendered sentences and the principles of punishment in the laws. The indistinct nature of the court’s discretion in determining sentencing outcomes, coupled with inconsistencies in the use and weighting of sentencing factors, further exacerbates the def iciencies in the sentencing process. Additionally, a lack of public and party participation, along with the absence of a systematic fact-f inding process during criminal trials, underscores the need for reform. The centralized and limiting nature of the fact-f inding role in courts, particularly evident in the judge on daily duty system (Wain-Chee), imposes constraints on the fact-f inding process for sentencing. In regard to aforementioned f laws in sentencing process, the researcher proposes a model to reform the punishment adjudication by creating sentencing guidelines through an internal mechanism of the Court of Justice, namely the sentencing commission. The sentencing guidelines are advisable to contain the objectives of punishment, criteria for imposing penalty, sentencing factors and levels of punishment. It deems crucial for each court to have authority to adjust sentences in accordance with local considerations. The development of sentencing guidelines should include public engagement and disclosure of contents. The implementation of fact-f inding for sentencing process in the civil legal system is recommended, i.e., gathering sentencing factors by inquiry off icials at the stage of investigation, thoroughly assessing substantiation for sentencing by the court prior to adjudication, abolishing excessively brief trial and adjudication, and initiating litigants’ opportunities to propose and attest factors for determining sentences. Keywords : sentencing process, criminal punishment, penalty

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656