เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

ปล่อยชั่วคราวหรือขังชั่วคราว? : ความย้อนแย้งของการฝากขังและปล่อยชั่วคราวในกฎหมายไทย

Provisional Release or Provisional Detention?: a Contradiction of Remand and Release Decisions in the Thai Criminal Procedure

อ่าน 2173 ครั้ง

มุขเมธิน กลั่นนุรักษ์

ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา

Mookmethin Klannurak

Chief Judge of the Human Trafficking Case Division of the Criminal Court

ธัญญานุช ตันติกุล

ผู้พิพากษาประจําสํานักงานศาลยุติธรรม (ผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ ๕๔)

Thanyanuch Tantikul

Judge of the Office of the Judiciary (Judge-Trainee Class 54)

วันที่ได้รับบทความ 8 กันยายน 2564

วันที่แก้ไขบทความ 25 ตุลาคม 2564

วันที่ตอบรับ 5 ธันวาคม 564

ภายใต้ข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิ ที่ผู้ต้องหาหรือจําเลยทุกคนพึงได้รับ การยกเว้นสิทธินี้จะกระทําได้แต่เพียงการนําเสนอ ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อว่ามีความเสี่ยงในการหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุ อันตรายร้ายแรงประการอื่น อย่างไรก็ตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยและ ทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกลับเอื้อให้การขังระหว่างพิจารณาสามารถกระทําได้โดยง่ายโดยไม่ต้อง มีการนําเสนอข้อเท็จจริงสนับสนุนอย่างเพียงพอ เนื่องจากการพิจารณาว่าจะปล่อยชั่วคราว หรือไม่จะทําได้ก็ต่อเมื่อมีคําร้องจากผู้ต้องหาหรือจําเลยและเป็นขั้นตอนแยกต่างหาก ภายหลังการฝากขัง ขั้นตอนนี้จึงสะท้อนให้เห็นความสําคัญของการขังยิ่งกว่าการปล่อย ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ทําให้กฎหมายใช้คําว่า “ปล่อยชั่วคราว” โครงสร้างและการตีความกฎหมาย ในลักษณะดังกล่าวทําให้การพิจารณาคําร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นไปอย่างยากลําบาก อันมีสาเหตุจากการขาดแคลนข้อมูลในการสั่ง และความสุ่มเสี่ยงที่การใช้เหตุผลของศาล จะขัดกันเอง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการพิจารณาการฝากขังและ ปล่อยชั่วคราวในคราวเดียวกัน โดยให้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงซึ่งเจ้าพนักงานผู้ร้องขอฝากขัง ต้องนําพยานหลักฐานมาแสดงว่ามีความเสี่ยงมากพอให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ บทความนี้ เสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมถึงข้อเสนอในการ ตีความกฎหมายเพื่อบรรเทาปัญหาไปพลางก่อนในระหว่างรอแก้ไขกฎหมาย

Under a presumption of innocence, the right to pretrial release or bail is a presumptive right of every accused. Deactivating this right requires sufficient demonstration of substantial risks of flight or danger to the criminal justice or the society. However, the Thai criminal procedural law and its associated practice enable pretrial detention to be easily justified absent adequate factual corroborations. The separate bail consideration, commenced post-remand and only upon the accusedûs motion, also reflects the centrality of detention which normalizes the unusual term ùprovisional releaseû. This legal structure and related interpretations complicate bail decision-making because of information deficit and tendency to paradoxical reasoning. This article argues for the merging of the remand and bail considerations whereby the state is burdened to prove the risks that justify detention. It also offers an alternative interpretation to the existing law as a temporary solution while awaiting the revision of the Criminal Procedure Code.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656