เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

แนวทางการเตรียมความพร้อมและปัญหาทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒

Compliance Guidelines for and Legal Issues under the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)

อ่าน 1591 ครั้ง

อนุวัฒน์ งามประเสริฐกุล

ทนายความหุ้นส่วน หัวหน้าส่วนงานระงับข้อพิพาท หัวหน้าร่วมส่วนงาน Tech-Media-Telecoms บริษัท บลูเมนทอล ริชเตอร์ แอนด์ สุเมธ จํากัด

Anuwat Ngamprasertkul

Partner, Head of Litigation and Dispute Resolution, Co-Head of Tech-Media-Telecoms Blumenthal Richter & Sumet Co., Ltd.

พินิติ ชมสวัสดิ์

ทนายความ ส่วนงานระงับข้อพิพาท และส่วนงาน Tech-Media-Telecoms บริษัท บลูเมนทอล ริชเตอร์ แอนด์ สุเมธ จํากัด

Piniti Chomsavas

Lawyer, Litigation and Dispute Resolution, Tech-Media-Telecoms Departments Blumenthal Richter & Sumet Co., Ltd

วันที่ได้รับบทความ 25 กรกฎาคม 2565

วันที่แก้ไขบทความ 30 กรกฎาคม 2565

วันที่ตอบรับ 5 สิงหาคม 2565

เป็นระยะเวลาประมาณ ๓ ปีที่ทั้งภาครัฐและเอกชนมีโอกาสในการศึกษา ตรวจสอบ ความพร้อมและปรับตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ (“พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ”) ตั้งแต่การประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จนถึงวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 9 มิถุนายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา แต่เนื่องจาก พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ เป็นกฎหมายใหม่ที่นําเสนอหลักการ กฎหมายที่มุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และควบคุมการเก็บ รวบรวม ประมวลข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ควบคุมข้อมูล ส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหลักการดังกล่าวมีความแตกต่างกับ กฎหมายฉบับอื่น ๆ ของประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าว การบังคับใช้กฎหมายในช่วงแรก ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนจึงอาจมีอุปสรรคบางประการ และข้อจํากัดในการ ดําเนินการตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเกิดจากความซับซ้อนของกฎหมาย ความไม่เข้าใจและ ขาดแนวทางในการเตรียมความพร้อม รวมทั้งการตระหนักรู้ถึงภาระและโทษตามกฎหมาย ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้ศึกษาข้อกฎหมายทั้ง พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ GENERAL DATA PROTECTION REGULATION หรือ GDPR รวมไปถึงแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนแนวทางการตีความและตัดสินของหน่วยงานต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป และได้มี โอกาสให้คําแนะนํากับองค์กรต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมและการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาจํานวนหนึ่ง จึงขอนําเอาแนวทางวิธีในการดําเนินการเพื่อ เตรียมความพร้อมและดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยได้จัดลําดับขั้นตอนในการ ดําเนินการเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และเสริมสร้าง ความเข้าใจให้กับบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพิจารณาปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นลําดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. การสํารวจข้อมูลภายในองค์กร (Data Discovery) เพื่อตรวจสอบว่า หน่วยงานมีการเก็บ รวบรวม ประมวลผล หรือเปิดเผย “ข้อมูลส่วนบุคคล” หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งสามารถระบุสถานะและบทบาทของตนได้ว่าหน่วยงานของตนมีฐานะเป็นผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายได้กําหนดนิยามไว้ เพื่อพิจารณา ภาระหน้าที่และความรับผิดที่แตกต่างกันตามที่กฎหมายกําหนด ๒. การจําแนกประเภทข้อมูลส่วนบุคคล (Data Classification) โดยการแบ่ง ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่ว่าเข้าข่ายเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวตามที่กฎหมาย กําหนด หรือมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคลได้หรือไม่ ๓. การระบุวัตถุประสงค์ (Purpose Identification) โดยการประเมินและ สอบทานวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่ และพยายามลดการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จําเป็น (Data Minimization) ๔. การกําหนดฐานทางกฎหมาย (Lawful Basis) โดยพิจารณาว่าในการประมวล ผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ระบุได้ข้างต้น จําต้องได้ความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีฐานทางกฎหมายอื่นที่อนุญาตให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผล หรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมหรือไม่ ๕. การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Gap Analysis) โดยประเมินว่าองค์กร ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กําหนดไว้อย่างครบถ้วนหรือไม่ รวมทั้งประเมินว่ากิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในระดับใด เพื่อที่จะได้จัดเตรียมแนวทางการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว 5. การจัดเตรียมเอกสาร นโยบาย ขั้นตอน และแนวทางที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ เป็นไปตามกฎหมาย (PDPA Compliance) โดยจัดเตรียมให้มีรายละเอียดครบถ้วนตามที่ กฎหมายกําหนด อาทิ ประกาศแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล แบบขอความยินยอม หรือสัญญากับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยง เช่น จัดทํานโยบาย ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติภายในองค์กร และการจัดอบรมให้แก่ พนักงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ท้ายนี้ การทําความเข้าใจ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ การวิเคราะห์ปัญหาทาง รวมไปถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายที่อาจเกิดขึ้น คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นมีความสําคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับทั้งนักกฎหมาย และหน่วยงานที่ต้องบังคับใช้กฎหมายในการพิจารณาตรวจสอบความพร้อมขององค์กร และตัดสินโทษ รวมไปถึงสําหรับผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น ในฐานะผู้ควบคุมหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และที่สําคัญที่สุดคือประชาชนทั่วไป ที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายนี้

The public and private sectors have had around three years to study, check their readiness and adapt to comply with the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) (Personal Data Acté) from the date of publication in the Government Gazette on 27 May 2019 until the date the law was fully enforced on 1 June 2022. The Personal Data Act is a new law that introduces legal principles aimed at protecting the rights of personal data subjects and controlling the collection, processing or disclosure of personal data by data controllers or data processors. In the early stages of enforcement, there may be obstacles to compliance unless there are guidelines and awareness of the legal burdens and penalties in particular. From the authorûs experience of studying the law, the Personal Data Act and the General Data Protection Regulation, including guidelines for interpretation and judgments of various agencies in the European Union, have provided opportunities for organizations to prepare for and comply with personal data protection laws. Therefore, the author would like to provide the steps to prepare for compliance with the Personal Data Act to create awareness, enhance understanding and identify related legal issues. The steps are as follows. 1. Data Discovery to determine whether the organization collects, processes or discloses personal informationé, and to be able to identify the status and roles of data controllers or data processors as defined under the law to determine different obligations and liabilities as required by the law. 2. Data Classification to categorize the types of personal data that exist, including sensitive personal data under the Personal Data Act, and determine whether personal data has a high risk of causing damage to data subjects. 3. Purpose Identification to evaluate and review the purposes for the collection, processing or disclosure of personal data, and attempt to reduce the unnecessary storage of personal data (data minimization). 4. Legal Basis by obtaining consent to process the personal data of the data subject above, or have other legal bases that allow the collection, processing or disclosure of personal data. 5. GAP Analysis by assessing whether the organization has performed its duties in full compliance with the law as well as the extent that activities related to personal data have exposed it and the impact on data subjects in order to determine the proper safeguards. 6. PDPA Compliance by preparing the relevant documents, policies, procedures and guidelines for compliance with the law by providing complete documentation and procedures as required by the law such as privacy notice, consent forms, data processing agreements with personal data processors and practice guidelines to reduce risks by establishing policies, regulations or guidelines within the organization and arranging training for employees or related personnel. Understanding the Personal Data Act, analyzing potential legal issues and establishing guidelines for preparing to comply with personal data protection laws are important and useful to both lawyers and law enforcement agencies in reviewing the readiness of organizations and the award of penalties, including business operators who are obliged to comply with the law either as data controllers or data processors and most importantly all data subjects who are protected under the Personal Data Act.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656