เกี่ยวกับนิตยสารดุลพาห

ดุลพาห

ยึดมั่นในหน้าที่ ตามวิถีตุลาการ

สานต่อ • เสริมสร้าง • ส่งต่ออย่างยั่งยืน

สารบัญ

ค่าปรับในคดีอาญาเป็นหนี้หรือเป็นโทษ : ความกำกวมในสถานะของค่าปรับและความสับสนในการบังคับโทษ (ตอนที่ ๑)

Is a Penal Fine a Debt or a Punishment? : Status Ambivalence of the Fine and Confusion regarding Fine Enforcement (Part I)

อ่าน 1383 ครั้ง

ดร.ธัญญานุช ตันติกุล

ผู้พิพากษาประจําสํานักงานศาลยุติธรรม ช่วยทํางานชั่วคราวในตําแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดเชียงใหม่

Dr.Thanyanuch Tantikul

Judge of the Office of the Judiciary acting Vice Presiding Judge of the Chiang Mai Provincial Court

วันที่ได้รับบทความ 10 ตุลาคม 2565

วันที่แก้ไขบทความ -

วันที่ตอบรับ 5 เมษายน 2566

การที่โทษปรับบังคับเอาแก่เงินหรือทรัพย์สินของจําเลยและมีความเหมือนคล้ายกับ หนี้ทางแพ่งทําให้สถานะของโทษปรับมีสภาพชวนให้เกิดความสับสนว่าจะเป็นหนี้หรือเป็นโทษ ประกอบกับตัวบทเกี่ยวกับโทษปรับในประมวลกฎหมายอาญามีความกํากวม และให้นํา วิธีการบังคับคดีทางแพ่งมาใช้โดยอนุโลมในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จึงทําให้แนวการตีความและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับค่าปรับของศาลไทยโน้มเอียงไปในทางที่ถือ เสมือนว่าค่าปรับในคดีอาญาเป็นหนี้ที่ต้องบังคับให้ครบไม่ว่าโดยทางใด และดูราวกับจะอยู่ ภายใต้กรอบคิดเกี่ยวกับการบังคับชําระหนี้ทางแพ่ง ซึ่งแตกต่างขัดแย้งกับหลักการลงโทษ อาญาที่ต้องพิจารณาถึงความได้สัดส่วนและวัตถุประสงค์ในการลงโทษ แม้จะมีบริบทที่ศาล ใช้กรอบคิดเรื่องโทษมาใช้กับค่าปรับด้วย แต่แนวปฏิบัติในบริบทนั้นก็มีปัญหาด้านความ สมเหตุผลเฉกเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติในบริบทอื่นที่อยู่ภายใต้กรอบคิดเรื่องหนี้ บทความนี้ จึงมุ่งนําเสนอปัญหาว่าด้วยความไม่เป็นธรรมของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับโทษปรับอันเกิดจาก ความกํากวมของกฎหมายและความสับสนในสถานะของค่าปรับ โดยเสนอแนะให้มีการปรับปรุง กฎหมายและปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับค่าปรับให้สอดคล้องกับหลักจริยศาสตร์ และหลักการว่าด้วยการลงโทษมากขึ้น

The status of a penal fine is naturally prone to confusion, whether it is a civil debt or a criminal sanction, because of its being enforced on the defendantûs properties and because of its resemblance to a civil obligation. This confusion is aggravated by the Criminal Codeûs ambivalence on the issue and the mutatis mutandis application of the provisions regarding civil enforcement to fine enforcement scenarios. The consequence of this confusion is the tendency of Thai courts to treat a penal fine as a debt to be fully collected by whatever means. The frame of civil enforcement, which the courts seemingly adopt, contradicts the principles of punishment that require considerations for proportionality and an alignment with the penal purposes. Although the courts may use punishment-related frames in deciding about the fine in certain contexts, the resulted practice suffers from justificatory flaws like those in other contexts which are guided by the fine-as-debt frame. This article aims to bring attention to the problems of the unjust fining practice, which originated from the lawûs ambiguity and the confusion regarding the status of the fine. It also recommends that both the laws and the related practice be revised to be more compatible with the penal ethics and the principles of punishment.

นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห

พัฒนาโดย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

เวอร์ชัน 1.5.3

ติดต่อสอบถาม

สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม

ส่วนเอกสารวิชาการ

โทร. 0 2513 0656